ความหมายระบบสารสนเทศทางการบัญชี
ในอดีตการบริหารธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่จะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญ
กล่าวคือถ้าคนใดสามารถวางแผนได้ดี ควบคุมงานได้ดี
ก็จะทำให้การบริหารกิจการนั้นสัมฤทธิ์ผลได้
แต่ในปัจจุบันเมื่อธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนามากขึ้น
คุณภาพของการบริหารและความอยู่รอดขององค์นั้นจึงขึ้นกับระบบมากกว่าตัวบุคคล
ดังนั้นการบริหารสมัยใหม่ จะให้ความสำคัญกับระบบข้อมูล และระบบสารสนเทศมากขึ้น
เพราะหากกิจการใดมีระบบสารสนเทศที่ดีกว่าก็จะทำให้สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจที่รวดเร็ว
ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้กิจการนั้นสามารถอยู่รอดได้มากกว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน
ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้
สำหรับผู้ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางการบัญชีอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ บุคคลภายในองค์กร
และบุคคลภายนอกองค์กรเช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานของรัฐบาล
และคู่แข่งขัน เป็นต้น ทั้งนี้กระบวนการแปลงข้อมูลหรือ
ประมวลผลข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นอาจกระทำด้วยมือหรือใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้
ตัวอย่างของสารสนเทศทางการบัญชี ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ เช่น
งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด เป็นต้น
ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากการประมวลผลรายการค้าต่าง ๆ
ของกิจการดังนั้นรายการค้าแต่ละรายการ เช่น รายการขายสินค้า ซื้อสินค้า ฯลฯ
จึงถือว่าเป็นตัวอย่างของข้อมูล ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีค่า
ต่อการตัดสินใจเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ทำให้สามารถคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ
ในอนาคตได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น
และช่วยลดความไม่แน่นอนให้แก่ผู้ที่ทำการตัดสินใจโดยทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สารสนเทศจะมีประโยชน์หรือมีค่าต่อผู้ใช้มากน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศนั้น
ๆ สารสนเทศที่มีคุณภาพควรมีลักษณะที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1.เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
2.ถูกต้องเชื่อถือได้
3.สมบูรณ์ครบถ้วน
4.ทันเวลา
5.แสดงเป็นจำนวนได้
6.ตรวจสอบความถูกต้องได้
7.สามารถเข้าใจได้
8.สามารถเปรียบเทียบกันได้
เหตุผลที่นักบัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลนักบัญชีมักจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางธุรกิจ
ซึ่งความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ของการตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศที่ได้รับ
ว่าได้ทันตามเวลาที่ต้องการและมีความถูกต้องหรือไม่
แต่จากการที่แนวโน้มของธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้น มีโครงสร้างองค์กรที่สลับซับซ้อน
และมีสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การประมวลผลและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นจึงมีการนำระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อทำให้การส่งและรับข้อมูลระหว่างสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง
ๆ นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ
และยังสามารถทำให้ผู้ใช้ที่ผ่านการอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีของบริษัทได้ในทันทีที่ต้องการ
โดยรวมแล้วมีเหตุผลหลาย ๆ
ประการที่นับัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลได้แก่ ความสามารถในการส่งสารสนเทศการบัญชีไปยังผู้ที่ต้องการใช้ได้ทันกับความต้องการ ไม่ว่าผู้ใช้ข้อมูลนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม
ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด และเร็วที่สุด
คือการส่งผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วและทันสมัยนักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ใช้งาน
หรือควบคุมดูแลระบบการสื่อสารข้อมูล
ดังนั้นนักบัญชีจึงควรทำความเข้าใจพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล นักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ตรวจสอบ
และเป็นผู้ทำการประเมินการทำงานของระบบการสื่อสารข้อมูล นักบัญชีจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่มีการส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลนั้นมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า
ในปัจจุบันแนวโน้มของโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีส่วนใหญ่
มีการนำเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้
ดังนั้นนักบัญชีไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของพนักงานบัญชีในองค์กร หรือที่ปรึกษา
หรือผู้สอบบัญชี ต่างก็ควรที่จะสนใจศึกษา ค้นคว้า
ทำความเข้าใจและติดตามความก้าวหน้าทางด้านระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก
เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่ง
เฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล
ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องใน การทำงานแก่ผู้ใช้
ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น
การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น
โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ
และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ
โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือ
การประมวลผล เชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ
โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน
จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน
งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ
นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น
นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร
ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล
โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก
เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
- ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ - ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ - ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป - มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน - มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data ) ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้
ผู้ใช้ประโยชน์แบ่งได้2กลุ่มใหญ่ๆคือ
1.บุคคลภายในองค์กร(ได้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ )
2. บุคคลภายนอกองค์กร เช่นผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาล และคู่แข่งขัน เป็นต้น
คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data ) ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้
ผู้ใช้ประโยชน์แบ่งได้2กลุ่มใหญ่ๆคือ
1.บุคคลภายในองค์กร(ได้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ )
2. บุคคลภายนอกองค์กร เช่นผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาล และคู่แข่งขัน เป็นต้น
สารสนเทศที่เป็นประโยชน์
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
งบกระแสเงินสด
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
งบกระแสเงินสด
ส่วนประกอบทางการบัญชี
1.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ ( Goals and Objectives )
2.ข้อมูลเข้า ( Inputs )
ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ
ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่แข่งขัน
3.ตัวประมวลผล ( Processor ) คือ เครื่อง มือที่ ใช้ ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้ เป็นสารสนเทศ มักใช้ คอมพิวเตอร์ทำงานการคำนวณ การเรียงลำดับ การคิดร้อยละ การจัดหมวดหมู่ การจัดทำกราฟ ฯลฯ
4. ข้อมูลออก หรือผลลัพธ์ ( Output ) คือ สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้
5. การป้อนกลับ ( Feedback)
6.การ เก็บ รักษาข้อมูล ( Data Storage )
7. คำสั่งและขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน ( Instructions and Procedures )
8.ผู้ใช้ ( Users)
9. การควบคุมและรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล ( Control and Security Measures )
หน้าที่AIS
1. การรวบรวมข้อมูล ( Data Collection )
2. การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )
3. การจัดการข้อมูล ( Data Management )
4.การควบคุมข้อมูล และรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล
( Data Control and Data Security )
5. การจัดทำสารสนเทศ ( Information Generation )
1. การรวบรวมข้อมูล ( Data Collection )
2. การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )
3. การจัดการข้อมูล ( Data Management )
4.การควบคุมข้อมูล และรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล
( Data Control and Data Security )
5. การจัดทำสารสนเทศ ( Information Generation )
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ
ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์
และนโยบายของบริษัทเน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้
1.การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของหน่วยงาน
2.การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์
การวางแผน การสั่งการ
และการควบคุม
3.การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของหน่วยงานเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน
ถูกต้อง และเชื่อถือได้สามารถจัดแบ่งประเภทของผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีได้2
ประเภท
ประเภทที่ 1 ผู้ใช้ภายในหน่วยงานประกอบด้วยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ
ประเภทที่ 2 ผู้ใช้ภายนอกหรือผู้มีส่วนได้เสียทางหน่วยงาน
การบัญชี จากความหมายข้างต้นการบัญชี คือระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของแต่ละวัน
ขั้นตอนที่ 2 การจำแนก
คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันในจำแนกหมวดหมู่หรือแยกประเภทบัญชีในสมุดขั้นปลาย
ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผล
คือ
การนำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบการเงินภายในงวดเวลาบัญชีหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลความหมาย คือ
การนำข้อมูลซึ่งสรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปของร้อยละจากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกของหน่วยงาน